top of page

การขัดเกลาทางสังคม
         การขัดเกลาทางสังคม หมายถึง  กระบวนการอบรมสั่งสอนสมาชิกให้เรียนรู้ระเบียบของสังคมเพื่อให้เห็นคุณค่าและนำเอากฎเกณฑ์   ระเบียบปฎิบัติเหล่านั้นไปเป็นแนวทางในการประพฤติปฎิบัติ  การขัดเกลาสังคมเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องได้รับตลอตชีวิต  เพื่อที่จะทำให้มนุษย์สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมที่ตนเป็นสมาชิดอยู่ได้เป็นอย่างดี

ความมุ่งหมายของการขัดเกลาทางสังคม
           1. ปลูกฝังระเบียบวินัย 
           2. ปลูกฝังความมุ่งหวัง และแรงบันดาลใจ
           3. สอนให้รู้จักบทบาทและทัศนคติต่างๆ
           4. สอนให้เกิดความชำนาญหรือทักษะ
        วิธีการขัดเกลาทางสังคมอาจจำแนกได้  2  ประเภท
                1.  การขัดเกลาทางสังคมโดยทางตรง  เช่น การอบรมสั่งสอน  ขัดเกลาที่พ่อแม่ให้กับลูก ไม่ว่าจะเป็นการสอนพูด  สอนมารยาทในการรับประทานอาหาร  หรือสอนให้เรียกพี่ 
น้อง  ปู่  ย่า  เป็นต้น ในกรณีนี้ผู้สอนและผู้รับจะรู้สึกตัวในกระบวนการอบรมสั่งสอนโดยตรง
                2. การขัดเกลาทางสังคมโดยทางอ้อม   เช่น  การอ่านหนังสือพิมพ์  การฟังวิทยุหรือดูโทรทัศน์  ตลอดจนการดูภาพยนต์  ผู้รับจะเรียนรู้โดยไม่รู้ตัว  โดยสิ่งที่เรียนรู้จะค่อยๆซึมซับเข้าไปจิตใต้สำนึกว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้ที่สังคมยอมรับ  และหากเป็นสิ่งที่สังคมไม่ยอมรับกระทำในสิ่งที่แปลกแยกออกไป การขัดเกลาทางสังคมโดยทางอ้อมจะครอบคลุมไปถึง การเข้าร่วมกับกลุ่มเพื่อนด้วยและเพื่อนร่วมงาน  ซึ่งจะช่วยให้เกิดการปรับตัวและการพัฒนาบุคลิก
การขัดเกลาทางสังคมเป็นกระบวนการถ่ายทอดวัฒนธรรม  ค่านิยมสังคม  ซึ่งมีตัวแทนที่ทำหน้าที่ในการขัดเกลาทางสังคม  ดังนี้   
                1. ครอบครัว  เป็นตัวแทนสำคัญที่สุดในการทำหน้าที่ขัดเกลาทางสังคม เพราะเป็นสถาบันแรกที่เด็กจะได้ระบการอบรมสั่งสอนและจะมีความผูกพันทางสายโลหิตอย่างลึกซึ้ง  ซึ่งจะมีผลทางอารมณ์  ความประพฤติ  เจตคติ  ตลอดจนบุคลิกภาพองบุคคลมากที่สุด  เช่นพ่อแม่สั่งสอนให้ลูกเป็นคนกตัญญู  เป็นต้น
                2. กลุ่มเพื่อน  เป็นตัวแทนที่ทำหน้าที่ขัดเกลาทางสังคมอีกหน่วยหนึ่ง  เนืองจากกลุ่มแต่ละกลุ่มย่อมมีระเบียบ  ความเชื่อและค่านิยมเฉพาะกลุ่มตนเอง  ซึ่งอาจแตกต่างกันออกไป  ตามลักษณะกลุ่ม  เช่น  การแต่งกาย กลุ่มเดียวกันก็จะแต่งกายคล้ายๆกัน  
                3.โรงเรียน  เป็นตัวแทนสังคมที่ทำหน้าที่โดยตรงในการขัดเกลาสมาชิกตั้งแต่ในวัยเด็กจนถึงผู้ใหญ่  โดยอบรมด้านคุณธรรม  จริยธรรม  ขนบธรรมเนียม  ประเพณีต่างๆของสังคม  ตลอดจนค่านิยมและทักษะอันจำเป็นให้แก่สมาชิกในสังคม
                4. ศาสนา  เป็นตัวแทนในการขัดเกลาจิตใจของคนในสังคมยึดมั่นในสิ่งที่ดีงาม  มีศีลธรรม  จริยธรรม  และความประพฤติในทางที่ถูกที่ควรโดยศาสนาจะมีอิทธิพลทางจิตวิทยาต่อบุคคล  ในการสร้างบุคลิกภาพเป็นอย่างมาก
                5. กลุ่มอาชีพ   อาชีพแต่ละประเภทจะมีการจัดระเบียบปฎิบัติเฉพาะกลุ่ม  เช่น กลุ่มที่มีอาชีพค้าขายจะต้องมีความซื่อสัตย์ไม่เอาเปรียบลูกค้า  ผู้ที่เป็นสมาชิกใหม่ของกลุ่มต่างๆก็ต้องเรียนรู้ประเพณีของกลุ่มอาชีพที่ตนเป็นสมาชิกอยู่
                6.  สื่อมวลชน  มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ข้อมูลข่าวสารของสมาชิกในสังคม  มีส่วนในการขัดเกลาทางสังคมแก่มนุษย์ในด้านต่างๆ ทั้งด้านความคิด  ความเชื่อ  แบบแผนการประพฤติปฎิบัติ


ที่มาของข้อมูล
ผศ.วิชัย ภู่โยธิน และคณะ.หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม ม.4-ม.6 .พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ : อักษรเจริญทัศน์

bottom of page